มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเพื่อให้การดำเนินการใด ๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นไปตามมาตรา 5 มาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดทำประกาศแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ รวมทั้งกำหนดให้มีการบริหารจัดการ บูรณาการข้อมูล และการทำงานให้มีความสอดคล้องกัน เชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมั่นคงปลอดภัย มีข้อกำหนดในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีธรรมาภิบาล เพื่อให้การดำเนินการใด ๆ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐ หรือโดยหน่วยงานของรัฐ มีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ นั้น
ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Management System: ISMS) ของศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อให้รองรับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 และดำเนินการปรับปรุงแนวนโยบายและแนวปฏิบัติฯ เพื่อให้รองรับมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ในการนี้ ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงขอแจ้งประกาศมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2566 ประกอบไปด้วย
- ISMS-PC-001 แนวปฏิบัติการควบคุมผู้ให้บริการ (IT Outsource Procedure)
- ISMS-PC-002 แนวปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management Procedure)
- ISMS-PC-003 แนวปฏิบัติการตรวจสอบระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Internal Audit Procedure for Information Security Management System)
- ISMS-PC-004 แนวปฏิบัติการปรับปรุงแก้ไขและป้องกัน (Corrective and Preventive Action Procedure)
- ISMS-PC-005 แนวปฏิบัติการสำรองและกู้คืนข้อมูล (Information Backup and Restore Procedure)
- ISMS-PC-006 แนวปฏิบัติการบริหารจัดการขีดความสามารถในการให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Capacity Management)
- ISMS-PC-007 แนวปฏิบัติการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบ (Change Management Procedure)
- ISMS-PC-008 แนวปฏิบัติการบริหารจัดการเอกสาร (Document Control Procedure)
- ISMS-PC-009 แนวปฎิบัติการวางแผนรองรับในกรณีฉุกเฉินและการกู้คืนระบบงานเพื่อความมั่นคงสารสนเทศ (Business Contingency and Disaster Recovery)
- ISMS-PC-010 แนวปฏิบัติการดำเนินงานตามข้อกำหนดและกฎหมาย (Legal and Compliance Procedure)
- ISMS-PC-011 แนวปฏิบัติการจัดการสิทธิการเข้าถึงระบบ (Access Right Management Procedure)
- ISMS-PC-012 แนวปฏิบัติ การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ (Information Assets Management Procedure)
- ISMS-PC-013 แนวปฏิบัติ การทำลายสื่อบันทึกข้อมูล (Disposal of Media Procedure)
- ISMS-PC-014 แนวปฎิบัติการบริหารจัดการเหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security Incident Management)
- ISMS-PC-015 แนวปฏิบัติการขอเข้าพื้นที่ศูนย์ข้อมูล และการนำทรัพย์สินเข้า-ออกพื้นที่ศูนย์ข้อมูล(Physical Entry Control Procedure)
- ISMS-PC-016 แนวปฎิบัติการสื่อสารด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Security Communication Plan Procedure)
- ISMS-PC-017 แนวปฏิบัติรายการมาตรการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Statement of Applicability)
- ISMS-PC-018 แนวทางปฏิบัติการจัดการช่องโหว่ทางเทคนิค (Technical Vulnerability Management Procedure)
- ISMS-PC-019 แนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Traffic log management Procedure)
- ISMS-PC-020 แนวปฏิบัติด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และสารสนเทศ (Cybersecurity Procedure)
- ISMS-PC-021 แนวปฎิบัติควบคุมการเข้ารหัสข้อมูล (Cryptographic control Procedure)
- ISMS-PL-001 นโยบายความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Informaition Security Policy)
- ISMS-PL-003 นโยบายการควบคุมการเข้าถึง (Access Control Policy)
- ISMS-PL-004 นโยบายการจัดระดับชั้นความลับของข้อมูล (Information Classification, Labeling and Handling Policy)
- ISMS-QM-001 คู่มือการบริหารมาตรฐานการบริหารจัดการ ความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISMS Standard)